ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียน
ปะระวัติความเป็นมาของโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 ก่อตั้งขึ้นมาได้โดยการที่บริษัทวนนท์จำกัด ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ซี.พี. เท็กซ์ไทล์จำกัด บริษัท ซี.พี .สห อุตสาหกรรม ตามลำดับ ซึงได้มาประกอบกิจการตั้งโรงงานทอกระสอบในหมู่บ้านโนนทอง หมู่ที่ 10 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ.2517 บริษัทวนนท์ จำกัด เป็นบริษัทหนึ่งในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งคณะกรรมการบริหารบริษัทได้พิจารณา เห็นว่าโรงงานทอกระสอบมีพนักงานและคนงานมากมาย ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่น และบางคนอพยพครอบครัวมาทำงานในโรงงานทำให้สถานที่เรียนที่โรงเรียนถนนมิตรภาพซึ่งเป็นที่เรียนหนังสือของนักเรียนบ้านโนนทอง และบ้านน้ำเมาเด็กนักเรียนจะต้องเดินทางไปเรียนไกลบ้าน และไม่ปลอดภัยในการเดินทาง คณะกรรมการบริหารในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการศึกษาของเยาวชนในท้องถิ่นนี้ ดังนั้นจึงดำริจัดสร้างโรงเรียนขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ ดังกล่าว โรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 ตั้งอยู่หมู่ที่ 16 บ้านแผ่นดิน-ธรรม ซึ่งแยกออกจากบ้านโนนทอง หมู่ที่ 9 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนนี้สร้างบนพื้นที่ของทางราชการและเอกชนมอบให้ในเนื้อที่ 29 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดวัดบ้านโนนทอง
ทิศใต้ ติดถนนและที่ดินของเอกชน
ทิศตะวันออก ติดทางเดินและบริษัท ซี.พี.สหอุตสาหกรรม จำกัด
ทิศตะวันตก ติดถนนสาธารณะ และที่ดินของเอกชน
โรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 สังกัดกลุ่มโรงเรียนมิตรภาพ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอสีคิ้ว สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครราชสีมา มีเขตบริการจำนวน 2 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนทอง หมู่ที่ 10 บ้านแผ่นดินธรรม หมู่ที่ 16 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันโรงเรียนตั้งอยู่ในหมู่บ้านแผ่นดินธรรม หมู่ที่ 16 และมีบ้านโนนทองเดิม หมู่ที่ 10 เปลี่ยนเป็นหมู่ที่ 9 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เป็นเขตบริการด้วย ต่อมาโรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 สังกัดกลุ่มบัวขาว กลุ่มบัวขาวลำตะคอง และ ศูนย์พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาลำตะคอง ในปัจจุบัน การก่อสร้างอาคารใน เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2519 สร้างอาคารเรียนหลังที่ 1 แบบ 008 จำนวน 4 ห้องเรียน โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้ก่อสร้างให้สิ้นงบประมาณในการก่อสร้างรวมทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอน โต๊ะ เก้าอี้ ครู นักเรียน เสาธง คิดเป็นเงิน 681,648.00 บาท (หกแสนแปดหมื่นหนึ่งพันหกร้อยสี่สิบแปดบาทถ้วย)
พ.ศ. 2521 บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์จำกัด ได้ต่อเติมอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก 2 ห้องเรียน พร้อมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นเงิน 275,000.00 บาท สร้างโรงฝึกงานขนาด 1 ห้อง กว้าง 7 เมตร ยาว 17.5 เมตร โดยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2522 สร้างบ้านพักครูจำนวน 1 หลัง โดยงบประมาณของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 80,000 บาท
พ.ศ. 2523 สร้างเรือนเพาะชำ โดยงบประมาณโครงการ กสช. จำนวน 30,000 บาท และสร้างส้วม 4 ที่ 1 หลัง ใช้งบประมาณของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2524 สร้างบ่อน้ำ โดยงบประมาณโครงการ กสช. จำนวน 20,000 บาท
พ.ศ. 2525 สร้างอาคารเรียนหลังที่ 2 แบบ ป.1 ฉ. ใต้ถุนสูง จำนวน 3 ห้องเรียน โดยงบประมาณของ สปช. จำนวน 555,000 บาท และได้งบสร้างถังน้ำซีเมนต์ ฝ.33 1 ชุด
พ.ศ. 2531 สร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 203/2526 โดยงบประมาณ สปช. จำนวน 300,000 บาท สร้างสนามฟุตบอล แบบ ฟ.1 ใช้เงินจำนวน 100,000 บาท และได้ต่อเติมอาคารโรงฝึกงาน เป็นศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียนมิตรภาพ จำนวน 60,000 บาท พร้อมทั้งได้งบสร้างส้วมเพิ่มอีก 2 ที่ และถังน้ำซีเมนต์ แบบ ฝ.30 จำนวน 1 ชุด
พ.ศ. 2534 ทาสีอาคารเรียนหลังที่ 1 โดยบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้จัดงบประมาณให้เป็นเงิน 125,000 บาท บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ต่อเติมใต้ถุนอาคารเรียนหลังที่ 2 เป็นห้องเรียน สิ้นเงิน 84,260 บาท และจัดให้มีคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ ขึ้น
พ.ศ. 2535 บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้สมทบเงินสร้างอาคารอเนกประสงค์ ซี.พี.72 ปี และพัฒนาโรงเรียนเป็นเงิน 224,892 บาท
พ.ศ. 2536 สร้างอาคารเรียนหลังที่ 3 แบบ สปช. 105/2529 เป็นตึก 2 ชั้น จำนวน 10 ห้องเรียน โดยงบประมาณของ สปช. เป็นเงิน 2,398,000 บาท
พ.ศ. 2542 ได้งบประมาณจาก สปช. สร้างส้วม 2 ที่ 1 หลัง เป็นเงิน 55,000 บาท และสร้างถังน้ำซีเมนต์ แบบ ฝ.30 พิเศษ เป็นเงิน 80,000 บาท
พ.ศ. 2544 ได้งบประมาณจาก สปช. ปรับปรุงสนามฟุตบอล ฟ.1 จำนวน 1 สนาม เป็นเงิน 100,000 บาท
พ.ศ. 2545 สร้างโรงครัว แบบสร้างเอง จากงบบริจาค 100,000 บาท
พ.ศ. 2547 สร้างธนาคารเศษวัสดุเหลือใช้ งบจากเทศบาลตำบลลาดบัวขาว และงบบริจาค รวม 50,000 บาท สร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ 1 หลัง จากงบกองทุนอาหารกลางวันและเงินบริจาค เป็นเงิน 59,000 บาท สร้างเรือนเพาะชำ จากงบบริจาค การเปิดทำการสอน พ.ศ. 2520 เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 4 มีนักเรียน 112 คน ครู 6 คน โดยมีนายบพิธ จันทรเมธากุล เป็นผู้บริหารคนแรก
พ.ศ. 2527 เปิดสอนระดับก่อนประถมศึกษา (เด็กเล็ก)
พ.ศ. 2529 เปิดสอนระดับอนุบาลในโครงการอนุบาลชนบท
พ.ศ. 2534 เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโครงการโรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2536 เปิดสอนครบทั้ง 3 ระดับ ตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในโครงการปฏิรูปการศึกษาและเป็นโรงเรียนศูนย์ปฏิรูป
พ.ศ. 2544 โรงเรียนเป็นที่ตั้งสำนักงานกลุ่มบัวขาว ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัด จำนวน 9โรงเรียน ในตำบลลาดบัวขาว
พ.ศ. 2547 โรงเรียนอยู่ในสังกัดกลุ่มบัวขาวลำตะคอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. 2547 โรงเรียนได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารนายบพิธ จันทรเมธากุล ได้ขอเข้าโครงการเกษียณก่อนอายุ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4 ได้สั่งให้ นายประชารัฐ วงศ์ขำ มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2547
พ.ศ. 2549 โรงเรียนได้จัดสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่ภายในโรงเรียน และฐานเสาธงขึ้นใหม่ โดยใช้งบประมาณจากการบริจาคของชุมชน
พ.ศ. 2550 โรงเรียนได้จัดสร้างป้ายหน้าโรงเรียน โดยการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลลาดบัวขาว
พ.ศ. 2551 นายสหเทพ สาสวน ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนชมพู (สังฆประชานุเคราะห์) เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2551
พ.ศ. 2551 โรงเรียนได้รับงบประมาณจากบริษัท ซี.พี. สหอุตสาหกรรม จำกัด ทาสีอาคารเรียน ป.1 ฉ./ อาคารเรียน สปช. 105/29 และส้วม จำนวน 4 หลัง เป็นเงิน 89,000 บาท
พ.ศ. 2552 โรงเรียนสร้างโรงอาหารขนาด 12×10 เมตร หลังคามุมกระเบื้อง ใช้ในโครงการอาหารกลางวัน ได้เงินจากการทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา สิ้นงบประมาณ 220,000 บาท
พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้รับจัดสรร คอมพิวเตอร์ ตามโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 (SP2) งบประมาณทั้งสิ้น 345,000 บาท
พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณปรับปรุงอาคารเรียน ทาสีอาคารเรียน 008 ด้านนอกจำนวน 1 หลัง งบประมาณทั้งสิ้น 100,000 บาท
พ.ศ. 2554 โรงเรียนได้รับบริจาคงบประมาณจากบริษัท ซี.พี. อุตสาหกรรม จำกัด จำนวน 100,000 บาท และได้รับเงินจากการทอดผ้าป่าการศึกษา จำนวน 300,000 บาท ดำเนินการก่อสร้างกำแพงรอบโรงเรียน จนแล้วเสร็จ ได้กำแพงมีความยาว 100 ช่อง สิ้นงบประมาณ ทั้งสิ้น 350,000 บาท
พ.ศ. 2554 ได้รับงบประมาณจาก บริษัท ซี.พี. สหอุตสาหกรรม จำกัด จำนวน 135,000 บาท และเงินเหลือจ่ายจากผ้าป่าการศึกษา จำนวน 80,000 บาท รวมงบประมาณ 210,000 บาท สร้างสนามฟุตซอล หน้าเสาธง ขนาด 60 X 24 เมตร
พ.ศ. 2555 วันที่ 7 เมษายน 2555 โรงเรียนได้รับบริจาคอาคารห้องสมุด ขนาด 16X6 เมตร คอนกรีตมุงกระเบื้อง กระจกรอบด้าน ชั้นเดียว จากครอบครัว “วัฒนปาณี” งบประมาณ 500,000 บาท
พ.ศ. 2555 วันที่ 27 กรกฎาคม 2555 โรงเรียนได้รับงบประมาณบริจาค จาก พระครูสุวรรณปสาทคุณ เจ้าอาวาสวัดโนนทอง สร้างห้องประชุม ขนาด 2 ห้องเรียน มูลค่า 350,000 บาท
พ.ศ. 2555 โรงเรียน ได้รับงบประมาณจาก โครงการ”โรงเรียนดีศรีตำบล” สนับสนุนงบประมาณค่าซ่อมแซม , จัดซื้อครุภัณฑ์อาชีพและครุภัณฑ์วิชาการ งบประมาณทั้งสิ้น 372,600 บาท

สัญลักษณ์โรงเรียน

รูปดอกบัว หมายถึง สติปัญญา ความดีงาม และหมายถึง

บริษัท ซี.พี. สหอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นผู้อุปการะโรงเรียน

วิสัยทัศน์ / ปรัชญา

วิสัยทัศน์ (Vision)

ภายในปี 2559 โรงเรียนเจียรวนนท์อุทิศ 1 มุ่งจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน บริหารงานแบบมีส่วนร่วม เรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี เป็นคนดีมีคุณธรรม น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รักษ์ความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ปรัชญาของโรงเรียน

“เรียนดี มีวินัย จิตแจ่มใส ร่างกายสมบูรณ์”

พันธกิจ / เป้าหมาย

 

พันธกิจ (Mission)

1.    มุ่งจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ

2.   จัดการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

3.    ส่งเสริมให้ครูใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

4.    สร้างเสริมนักเรียนให้มีคุณธรรมพื้นฐาน  8  ประการ

5.    ปลูกฝังให้นักเรียนดำเนินชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

6.    บ่มเพาะให้นักเรียนเห็นคุณค่า ความสำคัญของความเป็นไทยและร่วมใจกันอนุรักษ์ความเป็นไทย

7.    รณรงค์ให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน


 

เป้าหมาย (Goals)

1.  โรงเรียนประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาให้ได้มาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ

2.  ภาครัฐ เอกชน บ้าน วัด ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการบริหารสถานศึกษา

3.  โรงเรียนมีระบบการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพ

4.  โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการที่ดี

5.  นักเรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน  8  ประการ

6.  นักเรียนมีความพึงพอใจในการสร้างเสริมคุณธรรมพื้นฐาน  8  ประการ

7.  นักเรียนประพฤติ ปฏิบัติตามหลักคุณธรรมพื้นฐาน  8  ประการ

8.  โรงเรียนจัดระบบการสร้างเสริมคุณธรรมพื้นฐาน  8  ประการ

9.  ครูใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดการเรียนการสอน

10.  ครู/นักเรียนมีความพึงพอใจในการบริการจากโรงเรียน

11.  ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

12.  โรงเรียนพัฒนาระบบการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

13.  โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาวิชาการ

14.  ทุกภาคส่วนมีความพึงพอใจในการรับบริการวิชาการของโรงเรียน

15.  โรงเรียนจัดระบบการประสานงานของเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภา